วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทที่ 8 การบริหารและการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย

บทที่ 8
การบริหารและการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย

1.วัตถุประสงค์ของการบริหารระบบเครือข่าย มีอะไรบ้าง จงสรุป
ตอบ
- การทำให้ผู้ใช้มีความ พึงพอใจในการใช้บริการขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบเครือข่ายที่ใช้และชนิดของผู้ใช้ระบบนั้นซึ่งจะมีผลต่างกัน เช่น ลูกค้าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่ผู้ออกแบบกราฟิกต้องการความรวดเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลในปริมาณสูงมาก ลูกค้าทั้งสองกลุ่มนี้มีความต้องการที่แตกต่างกันซึ่งผู้บริหารระบบเครือข่ายจำเป็นจะต้องปรับแต่งระบบเครือข่ายใหม่ให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละแบบ ความต้องการของผู้ใช้มักจะขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารระบบเครือข่ายจะต้องสามารถแยกแยะและตอบสนองให้ได้อย่างเหมาะสม


- การนำเสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิผล ผู้บริหารสามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้ภายในขอบเขตที่จำกัดด้วยวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เช่น ผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์แวร์จำลองการทำงานซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายสื่อสารหนึ่งล้านบาท และสมมุติว่าเงินงบประมาณได้มาเพียงสองล้านบาทต่อการใช้งานหนึ่งปี การใช้งบประมาณหนึ่งล้านบาทเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพียงคนเดียวจะต้องคุ้มค่าอย่างชนิดไม่มีข้อสงสัย มิฉะนั้นผู้บริหารระบบเครือข่าย ก็จะต้องปฏิเสธคำขอของผู้ใช้รายนี้

2.การบริหารระบบเครือข่ายไร้สายและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง จงสรุป

ตอบ ผู้บริหารระบบจะต้องติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมหรือได้เปรียบองค์กรคู่แข่ง เทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network) เช่น
- ดีเอสเอสเอส (Direct Sequence Spread Spectrum; DSSS) ซึ่งใช้วิธีการส่งสัญญาณผ่านหลายคลื่นความถี่พร้อมกันเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูง
- เอฟเอชเอสเอส (Frequency Hopping Spread Spectrum; FHSS) ใช้การส่งข้อมูลหลายความถี่แต่ไม่ได้ใช้ความถี่ทั้งหมดพร้อมกัน
- เทคโนโลยีการส่งสัญญาณด้วยแสงอินฟราเรดปริมาณข้อมูลในระบบเครือข่ายเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายกับระบบอินเทอร์เน็ตเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายทั่วไป- การแบ่งประเภทเครื่องมือตรวจสอบระบบเครือข่าย
- ซอฟต์แวร์บริหารอุปกรณ์

3.เครื่องมือสำหรับการตรวจสอบระบบเครือข่ายทั่วไป มีอะไรบ้าง จงสรุป
ตอบ ซอฟต์แวร์จากหลายบริษัท เช่น Keynote Systems, Inc., หรือ NetMechanic สามารถ นำมาใช้วัดระยะเวลาการตอบสนองผู้ใช้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบตลอดเส้นทาง (End-to-End Response Time) คือระยะเวลาตั้งแต่ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลในเว็บเพจจากเว็บไซต์หนึ่งจนกระทั่งข้อมูลใน เว็บเพจนั้นเริ่มปรากฏบนหน้าจอของผู้ใช้ การตรวจสอบประเภทนี้เรียกว่า การตรวจสอบรายการทำงาน (Transaction Monitoring) ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะสร้างรายการทำงานสมมุติ (Dummy Transaction) ขึ้นมาแล้วส่งไปยังเว็บไซต์ขององค์กรเพื่อวัดระยะเวลาการตอบสนอง
รายการทำงานสมมุติคือการจำลองรายการทำงานให้มีลักษณะเหมือนจริงเพียงแต่ไม่มีการร้องขอให้ทำงานใด ๆ เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าสมมุติจะมีรูปแบบเหมือนกับรายการสั่งซื้อสินค้าจริง แต่จะไม่มีการสั่งซื้อสินค้าเกิดขึ้น รายการทำงานสมมุติที่ถูกส่งมาจึงได้รับการตอบสนองกลับไปยังผู้ใช้ในทันทีที่มาถึงเว็บไซต์ขององค์กร ดังนั้นระยะเวลาการตอบสนองที่เกิดขึ้นจึงเป็นระยะเวลาที่ข้อมูลใช้ในการเดินทางผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเท่านั้น องค์กรจะต้องมีการตรวจวัดระยะเวลาการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบคือจะต้องมีการวัดในช่วงเวลาต่าง ๆ กันทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้มาก ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้น้อย และวันหยุด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีข้อมูลสำหรับการอ้างอิงในกรณีที่ระยะเวลาตอบสนองนานมากกว่าปกติ

4.ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย มีอะไรบ้าง จงสรุป

ตอบ ไฟร์วอลล์เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ปกป้องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายจากการบุกรุกโดยแฮกเกอร์และผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ผู้ใช้ตามบ้านสามารถติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้เพื่อป้องกันการ บุกรุกผ่านโมเด็มหรือบริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ได้ ระบบเครือข่ายองค์กรใช้ ไฟร์วอลล์ระดับแพ็กเกตในการตรวจสอบข้อมูลแต่ละแพ็กเกตที่ถูกส่งเข้ามาภายในระบบ หรือใช้ ไฟร์วอลล์ระดับโปรแกรมประยุกต์เพื่อบังคับให้ผู้ใช้จากภายนอกจะต้องลงทะเบียนชื่อผู้ใช้และใส่รหัสผ่านที่ถูกต้องสำหรับการใช้โปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรม การดัดแปลงไฟร์วอลล์ไปเป็นพร็อกซี่ก็เพื่อสร้างหมายเลขที่อยู่บนระบบเครือข่ายปลอมให้กับทุกแพ็กเกต เมื่อได้รับตอบกลับมาแล้วพร็อกซี่ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลในทุกแพ็กเกตและส่งต่อไปให้ผู้ใช้เฉพาะส่วนที่อนุญาตเท่านั้น

บทที่ 7 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

บทที่ 7
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. คำสั่งของระบบอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ในช่วงก่อนที่จะมีการพัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Internet Web Browser) ขึ้นมาใช้งานนั้น ผู้ใช้จำเป็นจะต้องสั่งงานผ่านคำสั่งต่าง ๆ โดยตรงซึ่งเรียกว่าเป็นการสั่งงานผ่าน Command Line คำสั่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดสองคำสั่งคือ เทลเน็ต และ เอฟทีพี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้เทลเน็ต (Telnet) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีคำสั่งสำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อกับโฮสต์เครื่องอื่นผ่านระบบเครือข่ายทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่โฮสต์เครื่องนั้นได้เหมือนกับว่าผู้ใช้กำลังนั่งทำงานอยู่กับโฮสต์เครื่องนั้นรูปแบบการใช้เทลเน็ต คือ “telnet ”โดยที่ หมายถึง ชื่อของเครื่องโฮสต์ที่ผู้ใช้ต้องการติดต่อด้วย ซึ่ง ผู้ใช้ จะต้องป้อนชื่อผู้ใช้ (User Name) พร้อมทั้งรหัสผ่าน (Password)เอฟทีพี (File Transfer Protocol; FTP) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย เดิมคำสั่งนี้เป็นการทำงานแบบ Command Line เช่นเดียวกับคำสั่งเทลเน็ต ปัจจุบันโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ได้ซ่อนคำสั่งนี้ไว้ภายในตัวเอง เวลาที่ผู้ใช้ทำการรับหรือส่งแฟ้มข้อมูลโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็จะเรียกใช้คำสั่งเอฟทีพีให้โดยอัตโนมัติการใช้คำสั่งเอฟทีพีคล้ายกับคำสั่งเทลเน็ต คือ FTP ผู้ใช้เพียงแต่ใช้เม้าส์ (Mouse) คลิกไปที่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ ตัวโปรแกรมก็จะจัดการเรียกใช้คำสั่ง เอฟทีพี เพื่อดึงแฟ้มข้อมูลนั้นมาให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติ

2. วิธีการทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดอย่างหนึ่งบนระบบอินเทอร์เน็ต ในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งจำเป็นต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับเหมือนการส่งจดหมายตามปกติ องค์กรหนึ่งมักมีการจัดตั้งเครื่องแม่ข่ายสำหรับการจัดบริหารจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คล้ายกับการบริการไปรษณีย์นั้นเองชื่อและที่อยู่ของบุคคลหนึ่งประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนชื่อผู้รับซึ่งจะวางไว้หน้าเครื่องหมาย “@” และส่วนที่สองจะเป็นชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายขององค์กรนั้น


ระบบเครือข่ายเว็บ (WWW) คือการพัฒนาการล่าสุดในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต HTML, Java, eHTML และอื่น ๆ คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจเพื่อใช้สื่อสารข้อความ รูปภาพ เสียง และอื่น ๆ บนระบบเครือข่ายเว็บ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถ เข้ามาใช้ประโยชน์จากเว็บได้อย่างมากมายผ่านส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เข้าใจและใช้งานได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีอย่าง Steaming Audio และ Streaming Video ช่วยเพิ่มความน่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ใช้ อย่างน่าอัศจรรย์ผ่านบราวเซอร์อย่างโปรแกรมเน็ตสเคปหรืออินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์

3. บริการอื่น ๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ นอกเหนือจากเครือข่ายเว็บบนระบบอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีบริการอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อยู่อีกกลุ่มหนึ่งคือ โกเฟอร์ โปรแกรมสำหรับการค้นหาข้อมูล และระบบข่าวสารเฉพาะกลุ่มโปรแกรม เหล่านี้มีวิธีการใช้งานและการเรียกใช้แตกต่างไปจากบราวเซอร์ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- โกเฟอร์
โดยปกติผู้ใช้ที่เรียกใช้โปรแกรมเทลเน็ต (Telnet) เพื่อติดต่อเข้าไปยังโฮสต์เครื่องหนึ่งมักจะประสบปัญหากับความไม่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ในโฮสต์นั้น ๆ ทำให้การค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหานี้คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิเนโซต้า (University of Minnesota) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาโปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) ขึ้นมาใช้งานใน พ.ศ. 2534 โปรแกรมนี้จะช่วยสร้างเมนูหรือข้อเลือกสำหรับการทำงานที่ต้องการที่สามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows 9x, Windows NT, Mac-OS, Unix และอื่น ๆ ช่วยให้ผู้ใช้ที่ไม่มีความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย

-โปรแกรมค้นหาข้อมูล
การค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ที่ไม่มีความคุ้นเคยหรือขาดประสบการณ์เนื่องจากปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ อีกทั้งไม่มีผู้ใดทำหน้าที่ดูแลจึงมีสภาพคล้ายกับห้องสมุดขนาดใหญ่ แต่ไม่มีบรรณารักษ์และหนังสือก็ไม่มีการจัดเรียงตามหมวดหมู่เลย อย่างไรก็ตามได้มีบริษัทหลายแห่งเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ทั่วไปโดยการนำ ข้อมูลจำนวนมากบนระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาจัดเรียงตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ทำหน้าที่คล้ายกับห้องสมุดอินเทอร์เน็ต ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้บรรจุข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้ทั้งหมดแต่ก็บรรจุข้อมูลไว้มากพอที่จะให้ผู้ใช้ ค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดโดยตรงจากเว็บไซต์นั้น ๆ ได้อย่างง่ายดาย บริษัทที่ให้บริการประเภทนี้เรียกโปรแกรมสำหรับค้นหาข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตว่า เซิร์ชเอ็นจิน(Search Engine) หรือเซิร์ชทูล (Search Tool)

บทที่ 6 ระบบเครือข่ายวงกว้าง และระบบเครือข่ายเขตเมือง

บทที่ 6 ระบบเครือข่ายวงกว้าง และระบบเครือข่ายเขตเมือง


1. รูปแบบการเชื่อมต่อสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท

ตอบ ระบบเครือข่ายวงกว้างหรือเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Networks; WAN) มักใช้เชื่อมโยงเครือข่าย 2 เครื่อข่ายที่อยู่ไกลกันมาก แต่ในปัจจุบันมีการนำระบบเครือข่ายวงกว้างมาประยุกต์ใช้ในระบบเครือข่ายเขตเมือง (Metropolitan Area Networks; MAN) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของผู้ใช้งานที่อยู่ในเขตตัวเมืองเดียวกัน ที่มีระยะห่างไม่มากนัก เช่น เชื่อมโยงสื่อสารกันกับในเขตเมือง หรือ ย่านใจกลางธุรกิจการเชื่อมโยงแบบ MAN ปกติแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างตึกต่าง ๆ การเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงผ่านสายใยแก้วนำแสงและเป็นระบบเครือข่ายสาธารณะที่สามารถทำการเช่าใช้งานจากผู้ให้บริการได้ทันทีการเชื่อมต่อ พื้นฐานมีอยู่สองแบบ คือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบเชื่อมต่อหลายจุด

1.การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด(Point-to-Point Connection) เป็นเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในหลายแบบคือ

-การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องเมนเฟรมในกรณีที่สามารถเชื่อมต่อได้และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไป

- การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลบางเครื่องกับเครื่องเมนเฟรมเมื่อเทอร์มินอลอยู่ไกลออกไปมาก

- การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระบบ ผู้บริหารเครือข่าย หรือโปรแกรมเมอร์ มักจะใช้เทอร์มินอลที่อยู่ใกล้กับเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล (Console Terminal)

1.สามารถส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก รวดเร็ว

2.สายสื่อสารแต่ละเส้นมีเทอร์มินอลเพียงเครื่องเดียว โฮสต์จึงทราบตลอดเวลาว่าเทอร์มินอลใดติดต่อเข้ามา และสามารถส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้เสมอ3.ค่าใช้จ่ายสูงการเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Connections)ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุด


2. รูปแบบโครงสร้าง (Topology) ระบบเครือข่ายวงกว้าง มีอะไรบ้าง จงอธิบาย และบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภท

รูปแบบโครงสร้าง (Topology) หมายถึง รูปแบบการวางตำแหน่ง (Physical Configuration or Layout) ของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบเครือข่ายซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญความแตกต่างระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้ มี 2 ประเภท คือ รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้น แบบดาว และแบบวงแหวน

1.รูปแบบโครงสร้างลำดับชั้นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องเมนเฟรมเป็นองค์ประกอบหลักมักจะมีการจัด โครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical Topology) ซึ่งมีเครื่องโฮสต์อยู่ที่ตำแหน่งบนสุด เรียกว่า ราก (Root) ของโครงสร้างนี้ เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front End-processors) ถูกวางอยู่ใน ระดับรองลงมา คอนโทรลเลอร์ (Controller) และมัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) อยู่ในระดับต่อลงมา โดยมีเทอร์มินอลทั้งหมดอยู่ที่ระดับล่างสุดของโครงสร้างข้อดีของการจัดโครงสร้างเป็นแบบหลายระดับชั้น

- สามารถตอบสนองการทำงานกับเครื่องเมนเฟรมได้เป็นอย่างดีเนื่องจากอุปกรณ์ที่อยู่ในระดับกลางจะรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะส่งมายังโฮสต์ซึ่งโฮสต์สามารถใช้เวลาในช่วงนี้ไปทำงานอื่นได้

- สามารถแบ่งแยกการทำงานของอุปกรณ์ในระบบซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง เช่น เมื่อเครื่องคอนโทรลเลอร์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะไม่มีผลกระทบไปยังการทำงานของอุปกรณ์ตัวอื่น นอกจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ตัวนั้น

2.รูปแบบโครงสร้างแบบดาวรูปแบบโครงสร้างแบบดาว (Star Topology) จะวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบอุปกรณ์ทั้งหมดจะเชื่อมต่อแบบ จุด-ต่อ-จุดเข้ามาที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง ในการรับและส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำการสอบถาม(Polling) อุปกรณ์ที่จะติดต่อด้วยก่อนเสมอข้อเสีย

- การที่ไม่มีอุปกรณ์ เช่น คอนเซ็นเทรเตอร์คั่นกลางระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ที่เหลือทำให้เซิร์ฟเวอร์ต้องทำงานหนักขึ้น

- หากคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางหยุดทำงาน ระบบจะใช้การไม่ได้ทั้งระบบ ซึ่งอาจจะใช้วิธีจัดตั้งอุปกรณ์ที่ศูนย์กลางแบบซ้ำซ้อน คือ มีอยู่สองเครื่อง โดยปกติจะใช้เครื่องหลักทำงาน ถ้าเครื่องหลักไม่สามารถทำงานได้ก็จะสลับมาใช้เครื่องสำรองให้ทำงานต่อไปได้ในทันที

3.รูปแบบโครงสร้างแบบวงแหวนโครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) ส่วนใหญ่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แต่ก็สามารถใช้กับระบบเครือข่ายใหญ่ได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ กันจะถูกเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด ไปยังเซิร์ฟเวอร์ข้างเคียง และเชื่อมต่อกันไปตามลำดับ เซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในระดับสุดท้ายจะเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ลำดับแรก ทำให้เชื่อมต่อครบเป็นวงจรรูปแบบวงแหวน

บทที่ 5
ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ

จงอธิบายองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ในเรื่อง ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ว่ามีอะไรบ้างและมีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร
– ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์สำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณมีส่วนประกอบหลักสามส่วนคือ เครื่องพีซี (Personal Computer) อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network Interface Card or Adapter Card) และสื่อถ่ายทอดสัญญาณ (Transmission Medium) เครื่องพีซีบางส่วนอาจทำหน้าที่พิเศษในขณะที่ส่วนที่เหลือทำหน้าที่สำหรับการใช้งานทั่วไป

– รูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์
1. ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน
ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology) ถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกับเครื่องผู้ใช้ที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งเมื่อต่อถึงกันหมดแล้วจะกลายเป็นวงจรปิดรูปวงแหวน ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในระบบเครือข่ายเรียกว่า Message จะถูกส่งไปในทิศทางเดียวกันเสมอเครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องที่รับข้อมูลเข้ามาจะเก็บข้อมูลนั้นไว้ในกรณีที่เป็นข้อมูลของตนเองเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะต้องส่ง ข้อมูลเดิมไปยังเครื่องในลำดับต่อไป ส่วนเครื่องที่เป็นผู้รับข้อมูล (Receiver) จะส่งข้อมูลตอบรับ (Acknowledgement) ออกมาแทนที่ข้อมูลเดิม โดยผู้ที่ส่งข้อมูลออกมา (Sender) นั้นจะกลายเป็นผู้รับ ข้อมูลตอบรับ หลังจากนั้นผู้อื่นจึงจะสามารถส่งข้อมูล
ได้
2. ระบบเครือข่ายแบบบัส
ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology) ใช้สายสื่อสารเส้นหนึ่งเป็นแกนหรือสายสื่อสารหลักหรือบัส เพื่อให้อุปกรณ์ทุกชนิดเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ที่ปลายสายทั้งสองข้างจะมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้เรียกว่า หมวกหรือหัวปิดสาย (Terminator) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาณสะท้อนกลับ (Echo) ซึ่งจะย้อนกลับไปทำให้สัญญาณข้อมูลจริงเสียหาย ข้อแตกต่างที่สำคัญจากระบบเครือข่ายวงแหวนคือ ที่ปลายสายของระบบบัสไม่ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะถูกส่งออกไปตลอดทั่วสายทั้งเส้น

3. ระบบเครือข่ายแบบดาว
ระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology) ประกอบด้วยอุปกรณ์สื่อสารศูนย์กลางตัวหนึ่งเรียกว่า ฮับ (Hub) อุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมดจะเชื่อมต่อเข้ามาที่นี่โดยตรง ข้อมูลจากเครื่องผู้ส่งจะต้องส่งมาที่ฮับเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องผู้รับโดยไม่ต้องส่งผ่านเครื่องอื่น ฮับจะทำงานเหมือนกับอุปกรณ์เชื่อมต่อโทรศัพท์ภายในที่เรียกว่า ตู้พีบีเอ็กซ์ (Private Branch Exchange)
– โพรโทคอล
โพรโทคอลที่ใช้งานในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่มีความแตกต่างจากโพรโทคอลที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง เช่น เอสเอ็นเอของบริษัทไอบีเอ็ม หรือ ทีซีพีไอพีที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต มาตรฐานอีเทอร์เน็ตได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ตามด้วยมาตรฐานโทเก้นพาสซิ่ง อาร์คเน็ต และแอปเปิลทอล์ค โพรโทคอลที่พัฒนาขึ้นมาเหล่านี้ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ระบบเครือข่ายต่าง ๆ สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ด้วย

– ชนิดของระบบเครือข่าย
1. ระบบเครือข่ายแบบพีบีเอ็กซ์
อุปกรณ์พีบีเอ็กซ์ (Private Branch Exchange) เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมานานมากแล้ว เพื่อใช้สำหรับการสลับสายสัญญาณอัตโนมัติระบบเครือข่ายโทรศัพท์ย่อยภายในองค์กร ซึ่งอาจใช้หมายเลขโทรศัพท์เพียงสามหรือสี่ตัวต่อหนึ่งหมายเลข แทนที่จะเป็นเลขเก้าตัวตามปกติ และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสายโทรศัพท์จากภายนอกองค์กรให้สามารถติดต่อกันได้
2. ระบบเครือข่ายแบบเพียร์
ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ (Peer or Peer-to-Peer LAN) เป็นระบบเครือข่ายที่สามารถ ติดตั้งใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่าย จึงได้รับความนิยมนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายขนาดเล็กในองค์กรทั่วไป ในระบบนี้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกชนิดมีความเท่าเทียมกันคือไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมระบบเครือข่าย เครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องมีสิทธิในการเลือกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็มีสิทธิเต็มที่ในการที่จะกำหนดสิทธิผู้ใช้ (อนุญาต หรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตเป็นบางส่วน) ให้แก่เครื่องอื่นที่ต้องการเข้ามาติดต่อด้วย วัตถุประสงค์หลักของระบบเครือข่ายเพียร์คือการอนุญาตให้เครื่องผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ จะเห็นได้ว่าเครื่องผู้ใช้แต่ละเครื่องในที่นี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง
3. ระบบเครือข่ายแบบเซิร์ฟเวอร์เบส
ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่นิยมใช้แบบเซิร์ฟเวอร์เบส (Server-Based LAN) ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเครื่องหนึ่ง หรือหลายเครื่องทำหน้าที่เก็บซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ไว้เป็นส่วนกลาง และอนุญาตให้เครื่องผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการต่าง ๆ ตามแต่ชนิดของบริการที่มีให้ เช่น เครื่องเซร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเป็นหลักก็จะเรียกว่าไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ตัวอย่างระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องพร้อมกับเครื่องผู้ใช้อีกจำนวนหนึ่งที่ประกอบกันเป็นระบบเครือข่ายแบบเซิร์ฟเวอร์เบส
– ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณความเร็วสูง
ระบบเครือข่ายอีเทอร์เน็ตในอดีตถูกมองว่าเป็นระบบเครือข่ายความเร็วต่ำสำหรับผู้ใช้จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากมีความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลเพียง 10 Mbps ในขณะที่ระบบเครือข่ายโทเก้นริงมีความเร็วถึง 16 Mbps แต่ในปัจจุบันระบบอีเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบเครือข่าย เฉพาะบริเวณความเร็วสูง (High-Speed LAN) ขึ้นมาใหม่สองแบบคือ ระบบฟาสต์อีเทอร์เน็ต และ กิกะบิตอีเทอร์เน็ต

– การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน
ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณได้รับการออกแบบมาสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จำนวนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จำกัดแห่งหนึ่งเข้าด้วยกัน เมื่อความนิยมเพิ่มขึ้น จำนวนระบบเครือข่ายจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน ใน ขั้นแรกทำการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณภายในองค์กรเดียวกันเข้าด้วยกันกลายเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ต่อมาจึงทำการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณเข้ากับระบบเครือข่ายวงกว้าง เพื่อให้สามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้มากขึ้น การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ทวนสัญญาณ บริดจ์ เราเตอร์ และเกตเวย์

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

คำถามท้ายบทที่ 4

คำถามท้ายบทที่ 4

1. มีโพรโทคอลอะไรบ้าง และแต่ละโพรโทคอลมีหน้าที่ทำอะไร
โพรโทคอลคือกฎระเบียบที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายวิธีการใช้อุปกรณ์ติดต่อซึ่งกัน และกัน เครื่องเมนเฟรมมีโพรโทคอลใช้งานเป็นของตนเองซึ่งแตกต่างจากโพรโทคอลที่ใช้กับเครื่องพีซี และ โพรโทคอลสำหรับเครื่องแต่ละชนิดก็มีการใช้งานอยู่หลายแบบ

โพรโทคอลทำหน้าที่กำหนดวิธีการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คู่หนึ่ง ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย สามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มคือ
1. รูปแบบการสื่อสาร (Syntax) อธิบายโครงสร้างของข้อมูลที่จะแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เช่น การกำหนดตำแหน่งและขนาดของข้อมูลแต่ละประเภท รวมทั้งชนิดของรหัสแทนข้อมูลที่ใช้
2. ความหมายที่ใช้ (Semantics) การกำหนดชนิดคำสั่ง และความหมายของคำสั่งนั้น ๆ เพื่อใช้สำหรับการควบคุมการทำงานและการตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการสื่อสาร
3. ระยะเวลา (Timing) อธิบายวิธีการควบคุมการส่งและรับข้อมูลในรูปแบบของระยะเวลาที่ใช้ เช่น กำหนดให้ส่งข้อมูลหนึ่งบิตในเวลา 1 ไมโครวินาที นอกจากนี้ยังทำการปรับความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์ให้เท่ากัน และกำหนดลำดับขั้นตอนในการนำส่งข้อมูล

ประเภทของโพรโทคอล
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารแต่ละชนิดจะใช้โพรโทคอลต่างชนิดกัน เช่น เครื่องเมนเฟรมก็จะมีโพรโทคอลของตนเอง ซึ่งจะไม่เหมือนกับโพรโทคอลที่ใช้งานในเครื่องพีซีในทำนองเดียวกัน ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณก็ใช้โพรโทคอลที่แตกต่างไปจากโพรโทคอลที่ใช้ในระบบเครือข่ายวงกว้าง แม้ว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ออกมามากมายเพื่อทำให้โพรโทคอลสำหรับเครื่องชนิดเดียวกันหรือระบบเครือข่ายแบบเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ก็ไม่มีวิธีการหรือ สูตรสำเร็จที่ใช้ในการแยกประเภทของโพรโทคอลโดยตรง เช่น โพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรมและโพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ตสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลเครื่องพีซีสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย และโพรโทคอลสำหรับเครื่องพีซีตระกูลแอปเปิล (Apple Macintosh) โพรโทคอลทั้งหมดในกลุ่มนี้จะอยู่ในประเภทโพรโทคอลชั้น เชื่อมต่อข้อมูล เนื่องจากมีการกำหนดรายละเอียดการทำงานในระดับชั้นเชื่อมต่อข้อมูลตามมาตรฐานรูปแบบโอเอสไอ
1. โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายวงกว้าง
ระบบเครือข่ายเริ่มต้นขึ้นมาจากการสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างที่เชื่อมต่อกับเครื่อง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โพรโทคอลต่าง ๆ ถูกนำมาใช้งานและรวมกันเป็นโพรโทคอลที่ใช้อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มักไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลปริมาณมาก ๆ เป็นระยะทางไกล ข้อกำหนดของโพรโทคอลจึงต้องจัดการเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการนำส่งข้อมูล
1.1 โพรโทคอลบนเครื่องเมนเฟรม
โพรโทคอลที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจการสื่อสารข้อมูลเป็นส่วนใหญ่และมักจะขยายขอบเขตการใช้งาน สำหรับระบบ เครือข่ายวงกว้างด้วยตัวระบบเครือข่ายวงกว้างนั้นถูกนำไปใช้ในกิจการทางทหารตั้งแต่ ค.ศ. 1950 และนำมาใช้งานทางพลเรือนต่อมาโพรโทคอลสำหรับเครื่องเมนเฟรม ได้แก่ โพรโทคอลจัดการระดับ ตัวอักษร โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ และโพรโทคอลจัดการระดับบิต นอกจากนี้ยังมี โพรโทคอล H.323 สำหรับการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ทางไกล และโพรโทคอล X.25 สำหรับการใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ
1.2 โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ต
โพรโทคอลที่ใช้สำหรับระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการกำหนดวิธีการติดต่อ สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่ายโพรโทคอลนี้จึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ เช่น โพรโทคอลทีซีพี-ไอพี โพรโทคอลสำหรับระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 โพรโทคอลสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
การนำเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในห้องทำงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลและอุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน ลักษณะโครงสร้างคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้เรียกว่าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ ในขณะที่โครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า ระบบเครือข่ายวงกว้าง โพรโทคอลที่มีใช้งานกับเครื่องเมนเฟรมมักจะเป็นแบบที่เรียกว่า Proprietary คือมีคุณลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นใช้งานกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ในระบบ เครือข่ายเฉพาะบริเวณมีกระบวนการสร้างขึ้นมาใช้งานต่างออกไป กล่าวคือผู้ใช้มักจะเป็นผู้สร้างระบบ ขึ้นมาเอง
ซึ่งผู้ใช้จะเลือกอุปกรณ์และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ผลิตมาจากบริษัทต่างกันแต่มีความเหมาะสมกับงานของตนเองเป็นหลัก ระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณจึงมักจะเชื่อมต่อเครื่องพีซีและอุปกรณ์ต่างชนิดกัน ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันได้ โพรโทคอลที่ใช้จึงต้องสามารถกำหนดวิธีการรับและส่งข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โพรโทคอล X.PC โพรโทคอล อีเทอร์เน็ต โพรโทคอลโทเก้น โพรโทคอล IPX/SPX เป็นต้น
2.1 โพรโทคอล X. PC
โพรโทคอล X.PC ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Tymnet สำหรับการเปลี่ยน รูปแบบของข้อมูลที่ส่งมาในแบบอะซิงโครนัสให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งออกไปทางระบบเครือข่ายแบบสวิทซิ่งได้ นั่นคือการแปลงข้อมูลแบบอะซิงโครนัสที่ส่งมาจากเครื่องพีซีเพื่อส่งออกไปทางระบบเครือข่าย X.25 ซึ่งทำงานในระบบซิงโคนัส โพรโทคอลนี้ยังช่วยให้เครื่องพีซีสามารถเปิดช่องสื่อสาร (Session) ได้มากกว่าหนึ่งช่องทางพร้อมกัน ซึ่งหมายถึงคือเครื่องพีซีสามารถติดต่อกับโฮสต์หลายโฮสต์ได้พร้อมกัน และยังมาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องพีซีด้วยกันเอง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบซ้ำซ้อนแบบวนซ้ำ (CRC) เหมือนกับโพรโทคอลเคอร์มิท
2.2 โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต
โพรโทคอลอีเทอร์เน็ต (Ethernet Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Xerox Corporation เป็นโพรโทคอลที่สร้างขึ้นมาเป็นกลุ่มแรกสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ แม้ว่าโพรโทคอลนี้จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดหรือไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนมากนักทั้งในการติดตั้งและในระหว่างการใช้งาน และมีความไว้วางใจได้ในระดับที่ดีมาก ระบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 Mbps ในรุ่นใหม่ เรียกว่า Fast Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 100 Mbps และรุ่นล่าสุด เรียกว่า Gigabit Ethernet จะมีความเร็วสูงถึง 1,000 Mbps โพรโทคอลนี้มีหลักการทำงานเรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) ซึ่งยอมให้เครื่องพีซีหรืออุปกรณ์สื่อสารที่พร้อมสามารถส่งข้อมูลได้ในทันทีที่ตรวจพบสัญญาณพาหะ (Carrier Signal) ซึ่งเป็นสถานะที่ไม่มีผู้ใดกำลังส่งข้อมูลอยู่เลย อย่างไรก็ตาม อาจมีเครื่องพีซีหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลออกมาพร้อม ๆ กัน ทำให้เกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ทำให้สัญญาณเหล่านั้นเสียหายใช้การไม่ได้ ผู้ที่กำลังส่งสัญญาณทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องหยุดส่งสัญญาณและรอคอยด้วยระยะเวลาที่ไม่เท่ากันหลังจากนั้นจึงจะสามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ
2.3 โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น
โพรโทคอลส่งผ่านโทเก้น (Token Passing) ปรับปรุงวิธีการใช้สายสื่อสารของโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โพรโทคอลนี้จะใช้ข้อมูลพิเศษเรียกว่า โทเก้น (Token) ซึ่งมีขนาดหลายบิตส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายเดียวกัน อุปกรณ์ใดต้องการส่งข้อมูลก็จะต้องมีโทเก้นไว้ในครอบครองก่อน

3 โพรโทคอลสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายนับว่าเป็นระบบที่ใหม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายแบบอื่น การออกแบบโพรโทคอลจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการส่งข้อมูลในรูปแบบของคลื่นวิทยุและการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอื่น โพรโทคอลสองแบบที่นิยมนำมาใช้งานคือ CDPD และ WAP
3.1 โพรโทคอล CDPD
โพรโทคอล CDPD (Cellular Digital Packet Data) หรือ Wireless IP ช่วยให้ ผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์สื่อสารโมเด็มแบบไร้สายสามารถส่งแพ็กเกตข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแพ็กเกตสวิท ไร้สาย (Wireless Packet Switched Digital Network) โพรโทคอล CDPD ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วไม่เกิน 19.2 Kbps โดยการส่งสัญญาณสลับกับเสียงสนทนาที่ใช้ความถี่เดียวกันในช่องสัญญาณเดียวกันโพรโทคอล CDPD มีโครงสร้างตามรูปแบบโอเอสไอ โดยทำงานในชั้นสื่อสารกายภาพและชั้นเชื่อมต่อข้อมูล และยังสามารถทำงานร่วมกับโพรโทคอลไอพีทีใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงส่งข้อมูลแบบหลายจุด (Multicast) ได้ คือส่งข้อมูลแพ็กเกตเดียวไปยังผู้รับหลายคน เช่น ผู้บริหารที่สำนักงานสามารถส่งแพ็กเกตเดียวที่อาจเป็นการเรียกประชุมด่วนไปยังผู้แทนฝ่ายขายทุกคนซึ่งอาจจะอยู่กับลูกค้าที่ไหนก็ได้
การแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่าย CDPD กับระบบเครือข่ายแบบอื่นจะต้องมีจุดเชื่อมต่อหรือจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมต่อไปยังระบบ CDPD อื่น ติดต่อกับไอเอสพีของระบบอินเทอร์เน็ต หรือระบบเครือข่ายแบบอื่น
3.2 โพรโทคอล WAP
โพรโทคอล WAP (Wireless Application Protocol) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากษริษัท Motorola, Nokia และ Phone.Com ในปี พ.ศ. 2540 มีหน้าที่ให้บริการสำหรับโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งในที่นี้ยังคงจำกัดเพียงโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์เท่านั้น โพรโทคอลนี้ควบคุมการทำงานจากผู้ส่งข้อมูลไปจนถึงตัวผู้รับข้อมูล ซึ่งมีลักษณะแบบ Client/Server ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นจะต้องติดตั้งโปรแกรมควบคุมประเภท Client Software เรียกว่า WAP-enabled ส่วนผู้ให้บริการก็จะต้องติดตั้งโปรแกรม Server Software สำหรับควบคุมการติดต่อจากผู้ใช้ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย
3.3 โพรโทคอล Apple Talk
บริษัท Apple Computers ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องพีซีอีกแบบหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ได้ออกแบบโพรโทคอลสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่อง Macintosh ของตนเองเข้าด้วยกัน เรียกว่า Apple Talk (เพื่อแข่งขันกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในตระกูลไอบีเอ็ม) โพรโทคอลนี้ใช้วิธีการทำงานแบบ CSMA เหมือนกับที่ใช้บนเครือข่ายอีเทอร์เน็ต แต่ไม่ใช้การตรวจจับสัญญาณซ้อนแบบ Carrier Detect (CD) บริษัทฯ ได้พัฒนาวิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดสัญญาณซ้อน เรียกว่า CA (Collision Avoidance) เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม โพรโทคอลนี้สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้มากที่สุดเพียง 32 เครื่อง และส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 230 Kbps ภายในระยะ 1,000 ฟุตเท่านั้น แต่ก็มีข้อดีตรงที่อุปกรณ์ระบบเครือข่ายจะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายได้ในทันที ซึ่งโครงสร้างของโพรโทคอล Apple Talk ที่สอดคล้องกับรูปแบบโอเอสไอ


2. นศ.ใช้โพรโตคอลอะไรบ้าง จงอธิบายว่าทำอะไร
SMTP เป็นการให้บริการเพื่อรับส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (E-Mail) โดยที่ SMTP จะมีตู้ไปรษณีย์เพื่อทำหน้าที่รับจดหมายจากผู้อื่นที่ต้องการส่งให้ และเก็บจดหมายของผู้ใช้ที่ต้องการส่งไปยังผู้ใช้อื่น เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ตั้งไว้โปรแกรมจะทำการส่งจดหมายออกและรับจดหมายเข้ามา ผู้ใช้ก็สามารถจะเปิดอ่านได้เมื่อต้องการ ส่วนการรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ SMTP Server ในลักษณะที่เป็น Client/Server จะใช้โปรโตคอลที่ชื่อว่า POP3 (Post Office Protocol)
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เขียนในภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้นจะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้นอื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือต่างเครื่องกันก็ได้
DNS ( Domain Name System) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายทุกตัวจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในการระบุตัวเองคล้ายกับชื่อ-นามสกุลของคนเรา หมายเลขที่กล่าวมานี้เรียกว่า IP Address โดยเขียนในลักษณะนี้ 203.154.126.134 การจดจำ IP Address เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการจำชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเกิดการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่จะให้บริการการสอบถามชื่อเครื่องและ IP Address ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า Domain Name Services ในการใช้งานนั้นผู้ใช้เพียงแต่ระบุ IP Address ของเครื่องที่ให้บริการนี้แล้วเมื่อต้องการจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต DNS จะช่วยค้นหา IP Address ของเครื่องที่ต้องการให้เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้ IP Address ที่ได้ในการติดต่อ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่ 2

1. อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง มีหลักการทำงานอย่างไร และใช้ประโยชน์อย่างไร จงยกตัวอย่าง

1 มัลติเพล็กเซอร์

อุปกรณ์มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer) เข้ามามีบทบาทเนื่องจากสามารถรวมสัญญาณจากหลายแหล่งเข้ามาใช้งานผ่านสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว นั่นคือที่เครื่องโฮสต์อาจมีพอร์ตเพียงหนึ่งพอร์ตเท่านั้น โดยมีมัลติเพล็กเซอร์ฝังอยู่ภายในตัวเครื่อง แต่สามารถควบคุมเครื่องเทอร์มินอลได้มากมาย

หลักการทำงานของมัลติเพล็กเซอร์

มัลติเพล็กเซอร์หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มักซ์ (MUX) เป็นอุปกรณ์ที่รวบรวมสัญญาณจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ช่องสัญญาณในสายเส้นที่ส่งออกจากมักซ์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อแบ่งปันในการส่งสัญญาณที่รับเข้ามาจากสายสื่อสารเส้นต่าง ๆ มักซ์จะทำงานเป็นคู่เหมือนกับโมเด็มคือจะต้องมีมักซ์ที่ผู้ส่งหนึ่งตัวและอีกหนึ่งตัวอยู่ทางฝั่งผู้รับ ข้อมูลที่รับเข้ามาจากสายสื่อสารทางฝั่งผู้ส่งจะถูกเข้ารหัสแล้วนำมารวมกันเพื่อส่งออกไป มักซ์ที่อยู่ทางฝั่งผู้รับจะถอดรหัสข้อมูลเพื่อส่งออกไปยังสายสื่อสารเส้นที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของมัลติเพล็กเซอร์

การรวมข้อมูลจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นหลายประการคือ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้สายสื่อสารให้คุ้มค่าเนื่องจากอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวอาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ของสายสื่อสารเส้นนั้นอย่างเต็มที่ ตาม ปกติ บนระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ มักซ์จะถูกนำมาใช้เชื่อมต่อเครื่องพีซีจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกันเพื่อติดต่อไป ยังส่วนอื่นของระบบเครือข่ายผ่านสายสัญญาณเส้นเดียวที่ใช้งานร่วมกัน เรียกอุปกรณ์นี้ว่า Connection Multiplexer ส่วนในระบบเครือข่ายไร้สายนำเทคโนโลยีการผสมสัญญาณมาใช้สำหรับถ่ายทอดข้อมูลจากผู้ใช้จำนวนหนึ่งผ่านช่องสัญญาณเพียงหนึ่งช่อง

2 คอนเซนเทรเตอร์

คอนเซนเทรเตอร์ (Concentrator) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยประมวลผลทางการสื่อสาร (Communications Processor) โดย มากจะเป็นคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เฉพาะ ส่วนใหญ่จะมีหน่วยความจำสำรองพ่วงติดอยู่กับคอนเซนเทรเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่รวมข้อมูลที่ส่งเข้ามาด้วยความเร็วต่ำจากนั้นจะนำข้อมูลที่รวม กันแล้วส่งผ่านสายส่งความเร็วสูงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อหนึ่ง

หลักการทำงานของคอนเซนเทรเตอร์

คอน เซนเทรเตอร์เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายกับมักซ์ คือ รวมสัญญาณจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสื่อสารเพียง เส้นเดียว แต่ก็มีความต่างกันในรายละเอียดและวิธีนำมาใช้งาน มักซ์จำเป็นต้องใช้งานเป็นคู่เสมอในขณะที่คอนเซนเทรเตอร์ใช้เพียงเครื่อง เดียวและยังมีขีดความสามารถในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้ด้วย ซึ่งมีกลไกหลายขั้นตอนดังนี้

1. การใช้บัฟเฟอร์ (Buffering) ข้อมูล ที่ส่งมายังคอนเซนเทรเตอร์มาจากหลายอุปกรณ์และหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเก็บข้อมูลด้วยบัฟเฟอร์ เพื่อผ่านการจัดการของ คอนเซนเทรเตอร์ต่อไป

2. จองเนื้อที่หน่วยความจำและควบคุมการจัดคิว (Allocation of Storage and Control of Queues) การ จองเนื้อที่หน่วยความจำนี้บางครั้งมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนมากบางครั้ง ข้อมูลจากอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลปลายทางหลาย ๆ เครื่องมีการส่งเข้ามาพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการจองเนื้อที่หน่วยความจำแบบไม่คงที่ (Dynamic allocation) จากนั้นก็จะมีการจัดคิวการทำงานที่ จัดการกับข้อมูลก่อนหลัง แล้วจึงส่งผ่านกระแสข้อมูลที่รวมกันแล้วไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์

3. รับข่าวสารจากอุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทาง คอนเซนเทรเตอร์จะมีวงจรที่ ต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วต่ำหลายเครื่องและต้องคอย ตรวจสอบว่าเมื่อไรจะมี ข้อมูลส่งเข้ามา การรอคอยข้อมูลเข้านี้เป็นไปในลักษณะที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และมาจากสายส่งเส้นไหน ด้วยเหตุนี้คอนเซนเทรเตอร์จึงต้องมีการตรวจหา (Scan) ไปตามสายต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูงเพื่อช่วยป้องกันสัญญาณสูญหายหรือผิดเพี้ยนไป

4. รวมข้อมูลเพื่อส่งผ่านในสายส่งความเร็วสูง เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้รับมาเปลี่ยนรหัส จากนั้นก็จะจัดข้อมูลเป็นกลุ่ม โดยจะต้องให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทราบด้วยว่าข้อมูลกลุ่มนั้นมาจากสถานีไหนจึงต้องเพิ่มรหัสประจำสถานีไว้ที่ ส่วนต้นของกลุ่มข้อมูล จึงจะอยู่ในสภาพพร้อมที่จะส่งข้อมูล

5. ตรวจสอบข้อผิดพลาด ในการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง แบบซิงโครนัส ซึ่งจะมีการตรวจสอบโดยใช้แพริตี้บิต จากหลักการจะเห็นได้ว่าคอนเซนเทรเตอร์เครื่องหนึ่งถูกนำมาวางไว้ระหว่าง โฮสต์และเทอร์มินอลจำนวนหนึ่ง คอนเซนเทรเตอร์จะรับข้อมูลเข้ามาจากเครื่องเทอร์มินอลทำการตรวจสอบความถูก ต้องของข้อมูล เก็บข้อมูลนั้นไว้เพื่อรอการนำส่ง และส่งข้อมูลนั้นไปยังโฮสต์ในที่สุด ถ้าโฮสต์และเทอร์มินอลอยู่ห่างจากกัน คอนเซนเทรเตอร์จะถูกวางไว้ที่ฝั่งเทอร์มินอลเพื่อให้มีสายสื่อสารเพียงเส้น เดียวเชื่อมไปที่โฮสต์

เนื่อง จากมีตัวประมวลผลและหน่วยบันทึกข้อมูลในตัวเอง คอนเซนเทรเตอร์จึงสามารถทำงานร่วมกับเทอร์มินอลได้แม้ว่าสายสื่อสารที่ติด ต่อกับโฮสต์จะเสียหายหรือถูกยกเลิกเป็นการชั่วคราว ข้อมูลจากเทอร์มินอลจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีและนำส่งต่อไปยังโฮสต์เมื่อสาย สื่อสารสามารถใช้งานได้ตามปกติ การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมบางอย่างที่เทอร์มินอลก็สามารถทำงานได้โดย ใช้ ตัวประมวลผลที่คอนเซนเทรเตอร์แทนได้ นอกจากนั้นแล้วคอนเซ็นเทรเตอร์สามารถเชื่อมต่อเทอร์มินอลจำนวนหนึ่งเข้ากับ โฮลต์หลายเครื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดังภาพ

จะเห็นได้ว่าจำนวนสายขาเข้าและสายขาออกจากคอนเซนเทรเตอร์ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ดังนั้นจึงสามารถต่อเทอร์มินอลจำนวนหนึ่งเข้ากับโฮลต์หลายเครื่องได้ ตามรูปแบบนี้คอนเซนเทรเตอร์จะทำหน้าที่คล้ายกับสวิทช์ คือทำหน้าที่เป็นตัวสลับสายสื่อสาร โดยยอมให้เทอร์มินอลสามารถเลือกที่จะส่งข้อมูลไปยังโฮลต์เครื่องที่ต้องการ ได้ และในทางกลับกัน โฮสต์ก็สามารถเลือกที่จะส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้เช่นกัน

3 ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์

ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (Front-End Processor; FEP) เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มักจะวางไว้ที่เดียวกันกับเครื่องโฮสต์ (ห้องเดียวกัน หรือตั้งไว้ติดกัน) แต่ถ้าโฮสต์และเทอร์มินอลอยู่ห่างจากกัน โดยปกติเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์จะมีสายเชื่อมต่อเพียงเส้นเดียวไปยัง โฮสต์ ดังนั้น ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์จะถูกวางไว้ที่ฝั่งเครื่องเทอร์มินอลเช่นเดียวกับ คอนเซนเทรเตอร์ เนื่องจาก ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งจึงสามารถทำงานได้เหมือน กับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ทั่วไป

หลักการทำงานของฟร้อนเอนด์โปรเซสเซอร์

วัตถุ ประสงค์หลักของการใช้เครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์เป็นการแบ่งเบาภาระทาง ด้านการติดต่อระบบเครือข่ายออกจากเครื่อง ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่การทำงานของเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ดังนี้

สามารถตอบรับการติดต่อผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์ได้โดยอัตโนมัติ

สามารถรวบรวมข้อมูลเป็นตัวอักษรแต่ละตัวหรือเป็นกลุ่มตัวอักษรจากกระแสบิทที่รับเข้าได้

สามารถวิเคราะห์ผลทางสถิติของข้อมูลได้

สามารถเปลี่ยนรหัสแทนข้อมูลเป็นแบบต่าง ๆ ได้

สามารถตรวจข้อผิดพลาด แก้ไข รวมทั้งการส่งข้อมูลใหม่ได้

ควบคุมการรับ-ส่งข้อมูลจากเทอร์มินอลได้โดยตรง

เปลี่ยนรูปแบบข้อมูลเพื่อให้เหมาะกับการประมวลผลที่เครื่องโฮสต์ได้

สามารถทำการโพลลิ่งแทนโฮสต์ได้

สามารถใช้โพรโทคอลหลายแบบเพื่อติดต่อกับเทอร์มินอลแต่ละชนิดได้พร้อมกัน

อนุญาตให้เทอร์มินอลสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยไม่ต้องส่งไปที่โฮสต์ก่อน

บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนา คลัสเตอร์คอนโทรลเลอร์ (Cluster Controller) ขึ้นมาสำหรับเครื่องเมนเฟรมของตนเอง (บางครั้งเรียกว่า Communication Controller เช่น รุ่น3174/3274) ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานเทอร์มินอลได้ถึง 64 เครื่อง และเครื่องพิมพ์อีกจำนวนหนึ่งได้พร้อม ๆ กันโดยสามารถวางอุปกรณ์นี้ไว้ใกล้หรือไกลจากเครื่องโฮสต์ก็ได้ คอนโทรลเลอร์ที่วางไว้ใกล้หรือติดกับเครื่องโฮสต์ (Local Controller) จะเชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์หรือ FEP ด้วยสายสื่อสารตรง ในขณะที่คอนโทรลเลอร์ที่อยู่ไกลออกไป (Remote Controller) อาจต้องใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ช่วยในการเชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์

4 คอนเวอร์เตอร์

คอนเวอร์เตอร์ (Converter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนโพรโทคอลให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง โพรโทคอล (Protocol) คือ กฎระเบียบสำหรับการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลจำ เป็นจะต้องใช้โพรโทคอลแบบเดียวกันจึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

หลักการทำงานของคอนเวอร์เตอร์

คอน เวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนโพรโทคอลในระบบเครือข่าย โดยโหนดแต่ละโหนดในระบบเครือข่ายเดียวกันอาจมีโพรโทคอลหลายอย่างใช้งานอยู่ ในเวลาเดียวกันก็ได้ เนื่องจากในระบบเครือข่ายหนึ่ง ๆ ไม่มีข้อบังคับให้ต้องใช้โพรโทคอลแบบเดียวกันทั้งหมด ในกรณีที่ผู้ส่งและ ผู้รับข้อมูลใช้โพรโทคอลแตกต่างกันก็จะมีการเปลี่ยนโพรโทคอลให้เหมือนกัน เสียก่อน การสื่อสารจึงจะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งทำงานคล้ายกับล่ามที่รับฟังคำพูดในภาษาหนึ่งจากผู้พูด แล้วตัวล่ามจะแปลคำพูดนั้นไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจ ทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสามารถสนทนากันได้ การเปลี่ยนโพรโทคอลยังมีความหมายรวมไปถึงการสื่อสาร ซึ่งใช้ข้อมูลที่มีรหัสแทน ข้อมูลแตกต่างกันด้วย เช่น ในเครื่องพีซีส่วนใหญ่จะใช้รหัสแทนข้อมูลแบบแอสกี (ASCII) ในขณะที่เครื่องเมนเฟรมไอบีเอ็มส่วนใหญ่ใช้รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) การ สื่อสารระหว่างเครื่องทั้งสองชนิดนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนรหัสแทนข้อมูลจึงจะ สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งคอนเวอร์เตอร์ก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างของอุปกรณ์ดังกล่าวเช่น บอร์ด IRMA สำหรับติดตั้งใน เครื่องพีซีเพื่อทำให้โฮสต์ของไอบีเอ็มมองเห็นเป็นเทอร์มินอลแบบ 3270

5 เกตเวย์

เกตเวย์ (Gateway) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือเครือข่ายที่มีลักษณะของการเชื่อมต่อ (Connectivity) ของเครือข่ายต่างกันและมีโพรโทคอลสำหรับส่งรับ ข้อมูลต่างกันให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งมักจะติดตั้งไว้ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร กับระบบเครือข่ายอื่น หรือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ใช้โพรโทคอลต่างชนิดกัน ดังนั้นเกตเวย์จึงทำหน้าที่เป็นคอนเวอร์เตอร์ด้วย

หลักการทำงานของเกตเวย์

การทำงานของเกตเวย์จะอยู่ในชั้นแอพพลิเคชัน (Application) ลงมา และยอมให้มีรูปแบบการต่อระหว่างเครือข่ายได้สองอย่างคือ การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายย่อย (Subnetwork) ของวงจรเสมือน (Virtual) 2 เครือข่าย และการเชื่อมต่อแบบดาต้าแกรม

เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่งและรับข้อมูลกันระหว่างแลน 2 เครือข่าย หรือแลน กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่างแลนกับแวน (Wide Area Network; WAN) โดยผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ เช่น เครือข่าย X.25 แพ็กเกตสวิทชิ่ง เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือ เครือข่ายทางไกลอื่น ๆ

6 เราเตอร์

เราเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลง Package ของเครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้

หลักการทำงานของเราเตอร์

การทำงานของอุปกรณ์เราเตอร์ขณะที่มีการส่ง-รับข้อมูลกันระหว่างผู้ใช้ภายในเครือข่ายเดียวกันจะกระทำกันอยู่ในเลเยอร์ชั้นกายภาพ (Physical Layer) หรือ ในสายสื่อสาร แต่ในการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายกัน ตำแหน่งของแพ็กเกตข้อมูลจะมีการแปลงรหัสกันในเลเยอร์ชั้นที่ 3 คือชั้นเครือข่าย (Network Layer) ของเครือข่ายนั้น เพื่อจัดเส้นทาง (Router) ของ ข้อมูลส่งไปยังปลายทางได้ถูกต้องและอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเส้นทาง หรือเราเตอร์นี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์ชั้นเครือข่ายของ เครือข่ายนั้นสามารถทำการเชื่อมต่อเครือข่ายได้มากกว่า 2 เครือข่ายทั้งที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือ ต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูล ที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วยเราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการจากโปรแกรม เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทางที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ตและส่งต่อออกช่องทางของพอร์ตเครือข่ายที่ เป็นแบบจุดต่อจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่เพื่อ ส่งไปยังเครือข่ายเขตเมืองได้ ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มี ประสิทธิภาพ

7 บริดจ์

บริดจ์ (Bridge) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของเครือข่ายท้องถิ่นเข้าด้วยกัน บริดจ์ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายแลน 2 เครือข่ายที่มีโพรโทคอลเหมือนกันหรือต่างกัน บริดจ์จะรับแพ็กเกตข้อมูลจากสถานีส่ง ผู้ส่งในเครือข่ายต้นทางทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทาง จากนั้นก็จะส่งแพ็กเกตข้อมูลทั้งหมดนั้นไปยังผู้ใช้เครือข่ายปลายทาง

หลักการทำงานของบริดจ์

บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่นแลนจำนวน 2 เครือข่ายที่มีโพรโทคอลเหมือนกันหรือต่างกัน บริดจ์จะทำงานอยู่ในเลเยอร์ชั้นที่ 2 หรือชั้นดาต้าลิงค์ (Data Link) ของรูปแบบโอเอสไอและในเลเยอร์ชั้นดาต้าลิงค์ยังแบ่งออกเป็นเลเยอร์ย่อยอีก 2 ชั้น คือชั้นแอลแอลซี (Logical Link Control; LLC) และชั้นเอ็มเอซี (Medium Access Control; MAC) ซึ่งบริดจ์สามารถทำงานได้ทั้ง ใน 2 เลเยอร์ย่อย

บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่จัดเก็บตารางรายการตำแหน่งที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ใน ระบบเครือข่ายแลนไว้ เมื่อมีข้อมูลเข้ามา บริดจ์จะทำการตรวจสอบข้อมูลดูว่าตำแหน่งปลายทางที่ต้องการส่งไปถึงมีอยู่ใน ตารางรายการเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายแลนของบริดจ์หรือไม่ ถ้าพบว่ามีอยู่ใน ตารางรายการ บริดจ์ทำการกรองออกจากแพ็กเกตที่ส่งมาแล้วส่งไปยังปลายทางในระบบเครือข่าย นั้น ๆ แต่ถ้าแพ็กเกตนั้นไม่ได้อยู่ในรายการเครื่องในระบบเครือข่าย บริดจ์ก็จะทำการส่งผ่านข้ามไปบริดจ์อื่นในระบบเครือข่ายอื่นต่อไป บริดจ์จะมีการทำงานที่รวดเร็ว เนื่องจากบริดจ์ไม่ได้จัดรูปแบบข้อมูลใหม่ เพียงแต่ทำการอ่านข้อมูลปลายทาง แล้วตัดสินใจว่าจะทำการกรองหรือส่งผ่านไป

อุปกรณ์บริดจ์เป็นสิ่งที่ใช้แก้ปัญหาในเรื่องสัญญาณที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายมากเกินไปได้ โดยจะจัดแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย (Network Segment) และ จะทำการกลั่นกรองสัญญาณเท่าที่ จำเป็นเพื่อส่งให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูกต้องได้ ทำให้สัญญาณไม่มารบกวนกันหรือมีสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเครือข่าย ย่อยโดยไม่จำเป็น แต่ในทางกลับกันถ้ามีความจำเป็นต้องการสื่อสารกันข้ามเครือข่ายย่อยเป็น จำนวนมากแล้ว อุปกรณ์บริดจ์ก็อาจจะกลายเป็นเสมือนคอขวดที่ทำให้เครือข่ายมีการทำงาน ช้าลงได้

8 รีพีตเตอร์

รี พีตเตอร์ หรือเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในการส่งสัญญาณข้อมูลระยะทางไกล ๆ สำหรับสัญญาณแอนะล็อก ซึ่งต้องการเครื่องขยายสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ช่วยขยายสัญญาณข้อมูลที่ เริ่มจะเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง

หลักการทำงานของรีพีตเตอร์

รีพีตเตอร์ (Repeater) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เจนเนอร์เรเตอร์ (Generator) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานในชั้นกายภาพของรูปแบบโอเอสไอ รีพีตเตอร์จะติดตั้งอยู่ในระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงระบบโดยรับสัญญาณที่ มีขนาดที่ต่ำลงหรือเสียไปให้เข้ามาและทำการกำเนิดสัญญาณรูปแบบที่มี คุณสมบัติเหมือนกับที่แหล่งกำเนิดที่ต้นทางขึ้นมาใหม่ และส่งสัญญาณที่กำเนิดขึ้นมาใหม่นี้ส่งไปในระบบเครือข่ายต่อไป รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในเลเยอร์ชั้นกายภาพของรูปแบบโอเอสไอ ซึ่งในส่วนของสายสื่อสารข้อมูลหรือบัสของเครือข่ายนั่น รีพีตเตอร์จะทำการเพิ่มระยะทางการสื่อสารของเครือข่าย เช่น เครือข่ายแลนให้สามารถส่งสัญญาณได้กว้างไกลยิ่งขึ้น จำนวนรีพีตเตอร์ในแต่ละบัสจะถูกจำกัดด้วยชนิดของสายสื่อสาร เช่น ในสายเคเบิลแบบโคแอกเชียล รีพีตเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 1.6 กิโลเมตร

9 โมเด็ม

โมเด็ม (Modulator–Demodulator; Modem) มา จากคำย่อของกระบวนการแปลงสัญญาณ ดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อก และการแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล มีหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล โมเด็มบางรุ่นสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลรวมถึงแก้ไขความผิดพลาดที่ เกิดขึ้นได้

หลักการทำงานของโมเด็ม

เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผล ออกมาในรูปของดิจิทัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบน สายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายผู้รับ โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิทัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้

การใช้ประโยชน์จากโมเด็มส่งข้อมูลและเสียง คือนำมาทำเป็นระบบตอบโทรศัพท์อัตโนมัติ (Automatic Answering Matching ) โดยเมื่อมีโทรศัพท์เข้ามา แต่ไม่มีผู้รับสาย นอกจากนี้ยังใช้งานแฟกซ์ตอบกลับ (Fax Back) ได้อีกด้วยแต่ต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน ปัจจุบันมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับดาต้า/แฟกซ์/วอยโมเด็ม (Fax/ data/ Voice Modem) เป็นต้น

10 อุปกรณ์อื่น ๆ

10.1 เครื่องตรวจสอบอุปกรณ์

อุปกรณ์ การสื่อสารนอกจากจะส่งข้อมูลออกไปด้วยความปลอดภัยแล้วยังจะต้องส่ง ข้อมูลออกไปอย่างถูกต้องด้วย เนื่องจากความซับซ้อนของอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องตรวจสอบการทำงาน (Diagnostic Equipment) ของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่น อุปกรณ์ตรวจสภาพสายสื่อสาร (Line Monitor) ทำ หน้าที่ในการตรวจนับปริมาณข้อมูลที่ถูกส่งออกไปแล้วคำนวณเป็นตัวเลขทางสถิติ ที่ต้องการ อุปกรณ์นี้อาจจะรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มัลติเพล็กเซอร์ คอนเซ็นเทรเตอร์ คอนโทรลเลอร์ และข้อมูลจากโปรแกรมควบคุมเครือข่าย เพื่อแสดงผลออกทาง หน้าจอ ซึ่งเจ้าหน้าที่เทคนิคสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการค้นหาจุดบกพร่องหรือ อุปกรณ์ที่เสียหายได้

10.2 อุปกรณ์รวมพอร์ตและเลือกพอร์ต

ในกรณีที่จำเป็นต้องต่ออุปกรณ์หลายชนิดเข้ากับโฮสต์ที่อาจมีจำนวนพอร์ตไม่เพียงพอก็อาจใช้อุปกรณ์รวมพอร์ต (Port Concentrator) ช่วย ได้ โดยการนำมัลติเพล็กเซอร์มาเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์เข้ากับเทอร์มินอลจำนวน 4 เครื่อง ทางด้านโฮสต์จะต้องมีพอร์ตจำนวน 4 พอร์ตเท่ากับจำนวนเทอร์มินอล แต่ในกรณีนี้โฮสต์มีพอร์ตเพียงพอร์ตเดียว จึงต้องใช้อุปกรณ์รวมพอร์ตมาเชื่อมต่อระหว่างโฮสต์เข้ากับมัลติเพล็กเซอร์

2. ข้อแตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล station address ในการทำงานส่งข้อมูลไปยังที่ใดๆ ซึ่งหมายเลข station address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกัน ถ้ามีการเปลี่ยน NIC นี้ไป ก็จำทำให้ station address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Network Layer address ในกการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IPX, TCP/IP หรือ AppleTalk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer การกำหนด Network address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้ เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อยๆ

หน้าที่หลัก ของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สื่อกลางและการเชื่อมโยงการสื่อสาร

สื่อกลางและการเชื่อมโยงการสื่อสาร


1.สื่อกลางแยกออกเป็นกี่ประเภท ในแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อกลางแต่ละประเภทที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล โดยสื่อกลางที่ใช้ส่งผ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อกลางประเภทใช้สาย และสื่อกลางประเภทไร้สาย สื่อกลาง คือส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และเป็นเส้นทางเดินของข้อมูล ข่าวสาร จากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อกลางสามารถจำแนกได้ดังนี้
1.1 สื่อกลางประเภทมีสาย (wired system) สื่อกลางประเภทมีสาย หมายถึง สื่อกลางที่เป็นสายซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และอุปกรณ์ในระยะทางที่ห่างกันไม่มากนัก เช่น 1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) เป็นเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้น พันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มากระทบความเร็วของการส่งข้อมูลในสายคู่บิดเกลียวประมาณ 100 เมกะบิตต่อวินาที (ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร) สายคู่บิดเกลียวที่นิยมใช้กันมากคือ สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (unshielded twisted pair : UTP) สาย UTP ที่พบเห็นใช้ทั่วไป เช่น สายโทรศัพท์ที่มีสายทองแดง 2 คู่ (ใช้กับหัวต่อ RJ-11) สาย UTP สำหรับหัวต่อ RJ- 45 มีสายทองแดง 4 คู่ ใช้เพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.2 สายโคแอกเซียล (coaxial cable) สายโคแอกเซียลมีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากแผงรับสัญญาณมายังโทรทัศน์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ใช้ส่งข้อมุลประเภทดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ใช้ส่งข้อมูลประเภทแอนะล็อก สายโคแอกเซียลจะมีลวดทองแดงพันเป็นเกลียวอยู่ถัดจากชั้นฉนวนพลาสติดนอกสุด เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ สายโคแอกเซียลสามารถให้ความถี่สัญญาณไฟฟ้าได้กว้างถึง 500 MHz จึงเหมาะสำหรับใช้เชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน




1.3 เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้ว หรือพลาสติกขนาดเล็กหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน การส่งสัญญาณจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใย ทำให้ไม่มีการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถส่งด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาพกราฟิก อักษร เสียง หรือวีดิทัศน์ ได้ในเวลาเดียวกัน และมีความปลอดภัยขึ้นการในส่งข้อมูล


2. สื่อกลางประเภทไร้สาย (wireless system) ในบางสถานการณ์นั้นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์โดยใช้สื่อกลางประเภทใช้สายอาจทำได้ไม่สะดวกนัก จึงจำเป็นต้องใช้สื่อกลางประเภทไร้สาย ซึ่งจะส่งผ่านข้อมูลด้วยการแพร่สัญญาณในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านไปในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย เช่น
2.1 ไมโครเวฟ (terrextrial microwave) เป็นการแพร่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะที่เดินทางเป็นเส้นตรง จากจานส่งที่ติดตั้งอยู่บนเสาหรือบนยอดดอยอาคารไปยังจานรับสัญญาณปลายทางในลักษณะเส้นสายตา (light of sight) หมายความว่า ถ้าส่องไฟออกจากจานด้านที่ส่งสัญญาณแล้วจานด้านที่รับสัญญาณจะต้องสามารถมองเห็นแสงไฟที่ส่องนั้นได้ ดังนั้น จานที่ใช้รับหรือส่งสัญญาณมักจะต้องติดตั้งอยู่บนที่สูง ๆ เพื่อให้พ้นจากสิ่งกีดขวางและช่วยให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ๆ หากมีตึกหรือภูเขากั้นระหว่างจานส่งต้นทางและจานรับปลายทางแล้ว จะต้องติดตั้งจานรับส่งบนยอดของสิ่งกีดขวางนั้น ๆ เพื่อให้ส่งสัญญาณต่อกันเป็นทอด ๆ ออกไป ซึ่งจานรับส่งแต่ละอันจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไมโครเวฟ เพื่อส่งต่อทอดออกไปจนกว่าสัญญาณจะเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ระบบไมโครเวฟนี้มีราคาถูก ติดตั้งใช้งานได้ง่ายและสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูง จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ใช้งานที่ไม่สามารถติดตั้งสื่อกลางประเภทใช้สายได้ แต่สัญญาณไมโครเวฟอาจถูกรบกวนจากพายุ ลม ฝน หรือแม้กระทั่งอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้สัญญาณอาจขาดหายไปในระหว่างการส่งได้


2.2 ดาวเทียม (satellite system) ในปัจจุบันมีการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ งานบริการด้านโทรศัพท์ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ งานด้านการทหาร งานประชุมทางไกล รวมทั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลักการทำงานของระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ซึ่งจะทำการส่งสัญญาณจากแต่ละสถานีต่อกันไปจนถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือตำแหน่งพื้นที่ของตนเอง เรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น และดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง



2.3 คลื่นวิทยุ (radio) เป็นการแพร่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในคลื่นความถี่ตั้งแต่ 30 เมกกะเฮิตรซ์ (MHz) จนถึง 1 กิกะเฮิตรซ์ (GHz) เหมาะสำหรับการกระจายเสียง เนื่องจากคลื่นวิทยุไม่สะท้อนที่ชั้นบรรยากาศ จึงไม่เกิดการรบกวนของคลื่นวิทยุที่ตัวเครื่องรับแม้จะอยู่ในระยะทางไกล แต่คลื่นวิทยุจะแพร่กระจายไปทั้วทุกทิศทาง จึงมีความปลอดภัยของข้อมูลน้อย คลื่นวิทยุถูกนำมาใช้เป็นระบบวิทยุสื่อสารในงานด้านการขนส่ง หรือการสื่อสารในรถแท็กซี่ หรืองานด้านการทหารและตำรวจ เป็นต้น
2.สาย UTP CAT5e และ CAT6 คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร UTP CAT5e มี 2 แบบ ก็คือ แบบธรรมดา กับแบบที่มี shield ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะของสายที่ใช้เดินนับจาก SWITCH ไปยังเครื่อง USER นั้น ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อมูลลึกๆ สาย UTP มี Diameter อยู่ที่ 24 AWG มี 2 ลักษณธคือสายที่เป็นแบบอ่อนและแบบแข็ง ซึ่งเรียกแตกต่างกันคือ คือ SOLID กับ STAN ซึ่งการใช้งานนั้นสายอ่อนจะใช้ทำสาย PATCH CORD และสายแข็งไว้เดินไปยังจัดต่างๆ ที่อยู่ในที่ปกปิดเช่นผนัง ฝ้า ฯลฯ UTP CAT6 มี 2 แบบ ก็คือ แบบธรรมดา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะของสายที่ใช้เดินนับจาก SWITCH ไปยังเครื่อง USER นั้น ระยะไม่เกิน 100 เมตร ข้อมูลลึกๆ สาย UTP มี Diameter อยู่ที่ 23 AWG มี 2 ลักษณะคือสายที่เป็นแบบอ่อนและแบบแข็ง ซึ่งเรียกแตกต่างกันคือ คือ SOLID กับ STAN ซึ่งการใช้งานนั้นสายอ่อนจะใช้ทำสาย PATCH CORD และสายแข็งไว้เดินไปยังจัดต่างๆ ที่อยู่ในที่ปกปิดเช่นผนัง ฝ้า ฯลฯ การเข้าหัวสาย UTP (Cat5)แบบ RJ-45การเข้าหัวสาย UTP แบบ RJ-45 เพื่อนำไปใช้ในระบบ LAN สายนี้สามารถใช้ได้กับระบบ LAN ที่มีความเร็ว 10 หรือ 100 Mbps ได้ทั้ง 2 ระดับ แต่ถ้าจะใช้ที่ระดับ 100Mbps ควรใช้เส้นค่อนข้างสั้นและต้องเป็นเกรดดีสักหน่อย ประเภทของสาย UTPสาย UTP สำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน 1. สายตรง (Straight-though Cable) คือสายปกติทั่วไปที่ใช้เชื่อต่อระหว่างการ์ด LAN และ Hub/Switch 2. สายไขว้ (Crossover Cable) โดยส่วนมากเชื่อมต่อระหว่างการ์ด LAN 2 การ์ด เพื่อให้เครื่องพีซี 2 ตัว สามารถติดต่อกันได้โดยตรงไม่ต้องผ่าน Hub หรือ Switch นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื่อมต่อ Hub หรือ Switch 2 ตัวเข้าด้วยกันเพื่อขยายพอร์ต ซึ่งเราเรียกการต่อแบบนี้ว่า Cascade นั่นเอง สิ่งที่ต้องเตรียมในการเข้าหัวสาย LAN1. เครื่องมือสำหรับเข้าหัวสาย (RJ-45 Crimping Tool)2. หัวต่อ RJ-453. สาย UTP แบบ Category 5 (CAT5) ภายในลวด 8 เส้น

3.หลักการเลือกสื่อกลางในการใช้งาน มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
หลักการเลือกสื่อกลางในการใช้งานการพิจารณาเลือกสื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นจะต้องคำนึงถึงสื่อประเภทเดิมที่มีใช้งานอยู่แล้ว และมูลค่าสำหรับการนำสื่อชนิดใหม่มาทดแทนสื่อแบบเดิม ในกรณีที่กำลังพัฒนาระบบใหม่ทั้งระบบ ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาในเรื่องราคาของสื่อที่ใช้ ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลอัตราความผิดเพี้ยนของข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกส่งออกไปในสื่อนั้น
3.1 ราคาของสื่อกลาง ในปัจจุบันสื่อชนิดที่มีราคาต่ำสุดนั้นคือสายยูทีพี มีราคาทั่วไปประมาณเมตรละ 18-50 บาทขึ้นอยู่กับประเภทของสาย จึงทำให้สายชนิดนี้เป็นที่นิยมในการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง การเพิ่มเติมหรือขยายระบบเครือข่ายในภายหลังก็สามารถทำได้โดยง่าย แนวโน้มราคาของสายชนิดนี้ก็จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ปัญหาประการเดียวที่ต้องระมัดระวังคือ ประเภทของสายที่จำเป็นจะต้องเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมเท่านั้น สายโคแอกเซียลมีราคาสูงกว่าสายยูทีพี แต่ก็ยังคงมีราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสง โดยทั่วไปสายชนิดนี้มีราคาอยู่ที่ประมาณเมตรละ 50-100 บาท เนื่องจากความทนทานและช่องสื่อสารขนาดกว้างมาก อาคารทั่วไปจึงยังคงใช้สายโคแอกเซียลเป็นหลักหรือใช้ควบคู่กับสายยูทีพี ในการเดินสายระหว่างส่วนต่าง ๆ หรือระหว่างชั้นภายในอาคารนั้น สายประเภทที่มีราคาสูงสุดคือสายใยแก้วนำแสง ถ้าจำนวนสาย 4-8 Core ราคาต่อเมตร 300-500 บาท และจำนวนสาย 8-12 Core ราคา 400-800 บาท โดยไม่รวมค่าติดตั้ง ในประเทศไทยมีสายชนิดนี้อยู่ 2 แบบคือ แบบใช้เดินภายในอาคาร และแบบใช้เดินภายนอกอาคาร ซึ่งจะต้องมีฉนวนหุ้มพิเศษและโดยปกติจะต้องมีสายลวดสำหรับขึงระหว่างอาคารหรือเสาไฟฟ้า ส่วนจำนวนเส้นใยแก้วภายในสาย (Core) นั้นมักจะไม่มีให้เลือกมากนัก สายใยแก้วนำแสงมีแนวโน้มที่ราคาจะถูกลงเรื่อย ๆ จากคุณสมบัติพิเศษที่เหนือกว่าสายชนิดอื่นทำให้สายชนิดนี้กำลังได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานมากขึ้น ราคาของสื่อกลางไม่ได้เป็นตัวประกอบเพียงอย่างเดียวในการพิจารณา เช่น การเดินสายระยะประมาณ 80 กิโลเมตรนั้น อาจพิจารณาเลือกใช้สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์ (Leased Telephone Line) หรือจากบริษัทเอกชนซึ่งอาจมีราคาที่ต่ำกว่าการลงทุนเดินสายเองทั้งหมด และในหลายโอกาสก็ไม่สามารถจะดำเนินการเองได้แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าก็ตาม การเชื่อมต่อในระยะทางไกลอาจเลือกใช้การเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมแทนการใช้สายประเภทต่าง ๆ เนื่องจากข้อได้เปรียบของการใช้ดาวเทียมนั้นไม่มีความจำเป็นจะต้องเดินสายใด ๆ โดยปกติราคาสำหรับค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจะขึ้นอยู่กับความเร็วที่ต้องการและระยะเวลาที่ต้องการใช้ อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมมักจะมีราคาที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าเช่าสายชนิดอื่น ๆ จึงมักเลือกใช้ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้
3.2 ความเร็วในการส่งข้อมูล ความเร็วในการส่งข้อมูล (Speed) ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้นตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ สายยูทีพีลำดับขั้น 1 (Category 1) ได้ถูกนำมาใช้งานนานมากแล้วจึงเป็นสายที่มีความเร็วต่ำที่สุด ส่วนสายโคแอกเซียล สายยูทีพีลำดับขั้น 5 (Category 5) ไมโครเวฟทั้งแบบบนพื้นดินและแบบผ่าน ดาวเทียมมีความเร็วสูงขึ้นตามลำดับ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสายใยแก้วนำแสงเป็นสื่อที่มีระดับความเร็วสูงสุด ดังตารางที่ 2.4

แสดงความเร็วของสื่อกลางชนิดต่าง ๆ (ต่อ)

3. 3 อัตราการผิดพลาดของข้อมูล องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการพิจารณาเลือกสื่อที่เหมาะสมในระบบเครือข่ายคือวิธีการกำจัดหรือลดความผิดพลาดของข้อมูล สื่อที่มีอัตราการส่งข้อมูลสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความผิดเพี้ยนของข้อมูลสูงตามไปด้วย ทำให้ความเร็วนั้นไม่มีความหมายหรือมีความสำคัญลดลง โดยปกติสื่อ (Media) ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความเร็วที่กำหนดให้ใช้อยู่แล้ว นั่นคือจะมีโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดน้อยมาก ยกเว้นในกรณีที่ผู้ใช้นำสื่อไปใช้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงเกินกำหนดส่วนการส่งข้อมูลด้วยความเร็วต่ำกว่าเกณฑ์ของสื่อใด ๆ ก็ตามจะไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรืออย่างน้อยที่สุดอัตราการเกิดข้อผิดพลาดก็จะไม่เพิ่มขึ้น ข้อผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ส่งได้ส่งข้อมูลออกไปเป็นบิท “1” แต่ผู้รับเห็นเป็นบิท “0” หรือรับไม่ได้เลย เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดเพี้ยนของสัญญาณ (Distortion) ซึ่งเป็น คุณสมบัติตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ความแรงหรือความเข้มของสัญญาณลดลง เนื่องจากระยะทางไกลเกินไปหรือสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์สลับช่องสัญญาณหรือสัญญาณรบกวนที่เกิดจากฟ้าผ่าลงมาโดยตรงหรือที่จุดใกล้สายสื่อสารมาก สื่อบางชนิดถูกรบกวนได้โดยง่ายจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าหรือจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าเอง เช่น สายยูทีพี หรือสายโคแอกเซียล ในขณะที่สัญญาณในสายใยแก้วจะไม่ถูกรบกวนเลย สัญญาณไมโครเวฟแบบพื้นดินและแบบดาวเทียมจะถูกรบกวนจากสภาพภูมิอากาศ และจากจุดดำบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) สัญญาณไมโครเวฟยังเกิดการรบกวนกันเองถ้าใช้ความถี่เดียวกันหรือความถี่ที่ใกล้เคียงกันมากเกินไป การรบกวนในรูปแบบต่าง ๆ จะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลได้โดยตรง การเลือกใช้สื่อกลางจำเป็นจะต้องพิจารณาเป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด หรือจะต้องสามารถตรวจหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ได้
3.4 ความปลอดภัย (Security) ข้อพิจารณาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของความปลอดภัยในที่นี้หมายถึงความพยายามในการขโมยข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น สายยูทีพี สายโคแอกเซียล และสายทุกชนิดที่ใช้ลวดทองแดงเป็นพาหะในการส่งข้อมูลนั้นมีความปลอดภัยในระดับต่ำมาก การขโมยข้อมูลจากสื่อที่เป็นสายลวดทองแดงนั้นทำได้ง่ายมากโดยการปอกฉนวนหุ้มภายนอกออกแล้วใช้สายอีกเส้นหนึ่งที่เป็นลวดทองแดงเหมือนกันมาเชื่อมติดกัน เรียกว่าการแท็ปสาย เพียงเท่านั้น ข้อมูลที่ส่งผ่านสายเส้นแรกก็จะถูกส่งเข้าไปยังสายเส้นใหม่ด้วย การตรวจหาการขโมยสัญญาณด้วยวิธีนี้ทำได้ยากมาก ดังนั้นสายประเภทนี้จึงควรเดินร้อยเข้าไปท่อโลหะหรือเดินผ่านสถานที่ที่มีความปลอดภัยเท่านั้น สายใยแก้วนำแสงนั้นยากแก่การขโมยสัญญาณด้วยวิธีการแท็ปสายเพราะจะถูกตรวจพบได้ง่ายมาก ลำแสงที่เป็นพาหะนำสัญญาณภายในสายนั้นจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อุปกรณ์ทางฝั่งผู้รับจึงจะสามารถรับข้อมูลที่ส่งมาได้ การตัดสายหรือการเชื่อมสายใยแก้วนำแสงจะทำให้ลำแสงภายในสายนั้นเกิดการหักเหและทำให้ผู้รับไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ จึงทำให้ระบบการสื่อสารผ่านสายเส้นนั้นเกิดการหักเหและทำให้ผู้รับไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ จึงทำให้การสื่อสารผ่านสายเส้นนั้นหยุดลงในทันที ในเวลาเดียวกันคุณสมบัติข้อนี้ทำให้การซ่อมแซมสายใยแก้วนำแสงที่เกิดการชำรุด เนื่องจากการใช้งานตามปกตินั้นไม่สามารถกระทำได้หรืออาจจะต้องใช้ทรัพยากรหรือมูลค่าในการซ่อมแซมสูงมาก การส่งข้อมูลด้วยคลื่นสัญญาณความถี่ต่าง ๆ นั้นเป็นวิธีการที่มีความปลอดภัยน้อย ที่สุด เนื่องจากผู้ที่ต้องการขโมยสัญญาณเพียงแค่ใช้เสาอากาศหรือจานรับสัญญาณดาวเทียมวางไว้ในจุดที่เหมาะสมก็จะสามารถรับข้อมูลทั้งหมดโดยไม่มีทางถูกตรวจพบได้เลย การรักษาความปลอดภัยจึงทำได้เพียงทางเดียวคือการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ก่อนที่จะถูกส่งออกไป และทำการถอดรหัสข้อมูลทางฝั่งผู้รับ ผู้ที่ขโมยสัญญาณไปก็จะได้สัญญาณที่ถูกเข้ารหัสไว้ ซึ่งก็จะไม่สามารถทราบ ได้ว่าข้อมูลที่แท้จริงนั้นคืออะไร ตัวอย่างเช่นสัญญาณโทรทัศน์ของบริษัทยูบีซีที่ส่งมาทางสายใยแก้วนำแสงนั้นได้ถูกเข้ารหัสไว้ ถ้าผู้ใช้นำสายอากาศมาต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรงก็จะไม่สามารถรับชมรายการใด ๆ ได้เลย ดังนั้นผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีกล่องรับสัญญาณ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถอดรหัสทำให้สามารถรับชมรายการต่าง ๆ ได้ตามปกติ ข้อเสียของวิธีการเข้ารหัสข้อมูลคือ ถ้าการถอดรหัส ข้อมูลเป็นวิธีการที่ง่ายเกินไปการเข้ารหัสก็จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย

4.การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
การเชื่อมโยงระบบเครือข่าย 2 ประเภท การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลและโฮสต์ถูกกำหนดโดย ลักษณะของการเชื่อมต่อสาย (Line Configuration) ซึ่งมีแบบที่นิยมใช้สองแบบคือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบหลายจุด ความแตกต่างของ ทั้งสองแบบอยู่ที่วิธีการสื่อสารระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอลหรืออุปกรณ์บนเครือข่ายมีรายละเอียดดังนี้
4.1 การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด
การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด (Point-to-Point) เป็นการใช้สายสื่อสารเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องผู้ส่งและเครื่องผู้รับ ในที่นี้ก็คือโฮสต์จะมีสายหนึ่งเส้นเชื่อมต่อไปยังเทอร์มินอลแต่ละตัว สายแต่ละเส้นในระบบนี้จึงมีอุปกรณ์อยู่เพียงตัวเดียวซึ่งจะต่อเข้ากับตัวควบคุมการสื่อสาร(Communication Controller) แล้วจึงต่อเข้ากับโฮสต์อีก

แสดงการต่อแบบจุด - ต่อ - จุด

การสื่อสารแบบนี้ โฮสต์จะทราบในทันทีว่าข้อมูลถูกส่งมาจากเทอร์มินอลใด และสามารถส่งข้อมูลกลับไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และเทอร์มินอลแต่ละตัวก็สามารถส่งข้อมูลมายังโฮสต์ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในด้านการสื่อสารข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญคือ ถ้ามีเทอร์มินอลจำนวน 500 เครื่องก็จำเป็นจะต้องใช้สายสื่อสาร 500 เส้น และต้องใช้จุดเชื่อมต่อ 500 จุด โดยปกติการเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด จะใช้ระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอื่น
4.2 การเชื่อมต่อแบบหลายจุด
การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint or Multidrop) ซึ่งมีอุปกรณ์จำนวนหนึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้นเดียวร่วมกัน (Shared Circuit) ดังนั้น เทอร์มินอลจะส่งสัญญาณออกมาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีเทอร์มินอลเครื่องอื่นกำลังส่งสัญญาณ ถ้าเทอร์มินอลหรืออุปกรณ์ใด ๆ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปส่งสัญญาณออกมาพร้อมกัน ก็จะมีสภาพคล้ายกับคนสองคนพูดขึ้นมาในเวลาเดียวกัน ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับฟังข้อความได้

จำนวนสูงสุดของเทอร์มินอลที่ใช้สายสื่อสารร่วมกัน สามารถคำนวณหาได้จาก องค์ประกอบหลักคือ
ความกว้างของช่องสื่อสารนั้น และปริมาณข้อมูลที่แต่ละเทอร์มินอลส่งออกมา ถ้าเทอร์มินอลมีปริมาณข้อมูลที่จะส่งมากก็จะทำให้เทอร์มินอลอื่นต้องรอนานขึ้น หรือถ้าเพิ่มจำนวนเทอร์มินอลเข้าไปก็จะส่งผลอย่างเดียวกัน ระยะเวลาตั้งแต่เทอร์มินอลรอคอยเพื่อส่งข้อมูลจนกระทั่งได้รับผลจากโฮสต์ เรียกว่า ระยะเวลาตอบสนอง (Response Time) เนื่องจากเทอร์มินอลสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเครื่องเท่านั้น ในขณะที่มีเทอร์มินอลจำนวนหนึ่งต่ออยู่ในสายสื่อสารเส้นเดียวกัน โฮสต์จึงจำเป็นต้องมีวิธีการเลือกเทอร์มินอลเพื่อที่จะอนุญาตให้ส่งสัญญาณได้ ในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณโฮสต์แก้ปัญหานี้ได้โดยใช้วิธีการแข่งขัน (Contention) เทอร์มินอลที่ต้องการส่งข้อมูลจะฟังสัญญาณในสายสื่อสาร ถ้าไม่มีผู้ใช้ (Idle) ก็จะส่ง ข้อมูลออกมาได้เลย หรือมิฉะนั้นก็จะต้องหยุดรอ ถ้าในจังหวะเดียวกันนั้นมีเทอร์มินอลอื่นส่งสัญญาณออกมาพร้อมกัน สัญญาณของทั้งสองเทอร์มินอลหรือมากกว่านี้จะเกิดการทับซ้อนกัน หรือชนกัน (Collision) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องหยุดส่งสัญญาณและถูกบังคับให้รอเป็นระยะเวลาหนึ่งที่ไม่เท่ากัน เทอร์มินอลที่หยุดรอจนครบวงรอบก่อนก็จะสามารถส่งสัญญาณได้ เทอร์มินอลที่เหลือก็จะพบว่าสายสัญญาณไม่ว่าง ซึ่งจะต้องหยุดรอ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เทอร์มินอลในกลุ่มนี้กำลังรออยู่นั้น อาจมีเทอร์มินอลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและตรวจพบว่าสายสื่อสารว่าง ก็สามารถส่งสัญญาณได้เลย วิธีการนี้ดีพอสำหรับระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณข้อมูลบนระบบเครือข่ายค่อนข้างน้อย ซึ่งจะไม่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ใช้งานอยู่ด้วย